บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2018

การศึกษาดูนิทรรศการ "นิทรรศน์การรัตนโกสินทร์"

รูปภาพ
ชื่อนิทรรศการ  นิทรรศน์การรัตนโกสินทร์ วัตถุประสงค์ของการจัดนิทรรศการ  1. เพื่อให้ผู้เช้าชมได้รู้ถึงประวัติของ กรุงรัตนโกสินทร์ 2. เพื่อให้ผู้เข้าชมได้หาความรู้ทั้งจากการอ่าน ฟัง และสัมผัส ของกรุงรัตนโกสินทร์ กลุ่มเป้าหมาย 1. นักศึกษา นักเรียน  2. ประชาชนทั่วไป สื่อที่ใช้ในการนำเสนอ 1. สื่อสิ่งพิมพ์ แผ่นป้ายต่าง 2. สื่อที่จัดแสดงสามารถจับต้องได้ เช่น รูปปั่น ของใช้ต่างๆ 3. สื่อที่เป็นมีเดีย การดูวิดีโอหรือภาพยนตร์ต่างๆที่ฉายในห้อง 4. สื่อที่ที่ให้ผู้ชมมีส่วนร่วม ผังการแสดง
รูปภาพ
การเรียนการสอนครั้งที่ 2 วันที่ 15/01/2018 - ได้เรียนทฤษฎีในห้องเรียน จากนั้นได้ไปดูนิทรรศการที่หอสมุด เป็นนิทรรศการอาเซียน โดยประเภทของนิทรรศการ คือ นิทรรศการแบบถาวร จัดในที่ร่ม วิธีการวางแผนในการจัดนิทรรศการคือ มีทั้งแบบให้ผู้ชมได้มีส่วนร่วมในนิทรรศการ คือสามารถจับต้องได้ มีหนังสือ มีรูปภาพ มีเครื่องปั้นต่างๆ ที่ให้ดู การวางแผนการเดินนั้น จะวางแผนให้เดินเข้าประตูมา สามารถเลี้ยวซ้ายเดินวนออกมาทางประตูได้ รูปภาพสิ่งสำคัญต่างๆในแต่ละประเทศ มุมที่สามารถนั้งดูทีวี ที่ให้ความรู้เรื่องประเทศอาเซียนได้ การแบ่งเวลาของแต่ละประเทศต่างๆในอาเซียน การให้ผู้เข้าร่วมนิทรรศการมีส่วนร่วมในการดูและสามารถจับต้องได้

หลักการออกแบบในการจัดนิทรรศการ

หลักการออกแบบในการจัดนิทรรศการ 1. ความเป็นเอกภาพ ............เอกภาพ (unity) หมายถึง ผลรวมขององค์ประกอบที่อยู่ร่วมกันได้อย่างเหมาะสมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงความเป็นหน่วยเป็นกลุ่มเป็นก้อนเป็นเรื่องเดียวกัน มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันและกลมกลืนกัน นอกจากความเป็นเอกภาพจะสามารถดึงดูดความสนใจได้ดีแล้ว ยังช่วยในการสื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจสาระได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วย ............ประโยชน์ของความเป็นเอกภาพในนิทรรศการ มีประโยชน์ทั้งต่อผู้จัดและผู้ชมหลายประการคือ ป้องกันความสับสนและความเข้าใจผิด สะดวกในการจัดการและดำเนินงาน มีจุดเด่นเป็นลักษณะเฉพาะแตกต่างจากสิ่งแวดล้อมโดยรอบ เป็นการนำเสนอเนื้อหาที่ตรงกับวัตถุประสงค์ สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย สามารถจำแนกปัญหาและอุปสรรคได้ชัดเจน ...........ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเป็นเอกภาพ ความเป็นเอกภาพแสดงออกให้เห็นรูปแบบต่าง ๆ ดังตัวอย่าง เช่น ..............ความใกล้ชิด (proximity) ..............การซ้ำ (repetition) ..............ความต่อเนื่อง (continuation) ..............ความหลากหลาย (variety) ..............ความกลมกลืน (harmony) ...